วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ขอต้อนรับเข้าสู่การเรียนรู้ภาษาไทย

                                 คำไทยแบ่งออกเป็น 7 ชนิด แต่ละชนิดมีลักษณะและหน้าที่แตกต่างกันออกไป การเรียนรู้เรื่องลักษณะของคำเพื่อสร้างเป็นกลุ่มคำและประโยคเป็นเรื่องสำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่งในการเรียนและการใช้ภาษาในชีวิตประจำวัน
       


       คำแต่ละคำมีความหมาย ความหมายของคำจะปรากฏชัดเมื่ออยู่ในประโยค การสังเกตตำแหน่งและหน้าของคำในประโยคจะช่วยให้เราทราบชนิดของคำรวมทั้งความหมายด้วย ดังนั้นการศึกษาให้เข้าใจหน้าที่และชนิดของคำในประโยคจึงมีความสำคัญมากเพราะจะช่วยให้เราสามารถใช้คำได้ถูกต้องตรงตามความหมายที่ต้องการ

 ในการใช้ภาษาจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องทราบว่าคำไนมีที่ใช้อย่างไร เพื่อประโยชน์ในการสื่อสาร นักไวยากรณ์ได้สังเกตความหมายและหน้าที่ของคำในประโยค              
                      แล้วจึงแบ่งคำในภาษาไทยออกเป็นชนิดได้ 7 ชนิด คือ
                                      1. คำนาม
                                      2. คำสรรพนาม
                                      3. คำกริยา
                                      4. คำวิเศษณ์
                                      5. คำบุรพบท
                                      6. คำสันธาน
                                      7. คำอุทาน
 คำนาม คือคำที่ใช้เรียกชื่อคน สัตว์สิ่งของ แบ่งเป็น 5 ชนิดคือ
           1. สามานยนาม
         
 2. วิสามานยนาม
           3. สมุหนาม
           4. ลักษณนาม
           5. อาการนาม 


 คำสรรพนาม คือคำที่ใช้แทนคำนาม แบ่งเป็น 6 ชนิดคือ           1. บุรุษสรรพนาม
           2. ประพันธสรรพนาม
           3. นิยมสรรพนาม
           4. อนิยมสรรพนาม
           5. ปฤจฉาสรรพนาม
           6. วิภาคสรรพนาม

  คำกริยา คือ คำที่แสดงอาการของคำนาม สรรพนาม แสดงการกระทำในประโยค แบ่งออกเป็น 4 ชนิดคือ
           
1. สกรรมกริยา
           2. อกรรมกริยา
           3. วิกตรรถกริยา
           4. กริยาอนุเคราะห์

    คำวิเศษณ์ คือคำจำพวกที่ประกอบคำอื่น เพื่อให้ได้ความชัดเจนยิ่งขึ้น แบ่งเป็น 10 ชนิดคือ
          
1. ลักษณวิเศษณ์
          2. กาลวิเศษณ์
          3. สถานวิเศษณ์
          4. ประมาณวิเศษณ์
          5. นิยมวิเศษณ์
          6. อนิยมวิเศษณ์
          7. ปฤจฉาวิเศษณ์
          8. ประติเษธวิเศษณ์
          9. ประติชญาวิเศษณ์
          10.ประพันธวิเศษณ์

บุรพบท คือคำที่ใช้นำหน้านาม สรรพนาม หรือกริยาบางพวก ทำหน้าที่ให้ได้ความเนืองกันและได้ความชัดเจน จำแนกออกเป็น 2 ชนิด คือ          
          1. บุรพบทที่ไม่เชื่อมกับคำอื่น
          2. บุรพบทที่เชื่อมกับคำอื่น


     สันธาน คือคำที่ใช้เชื่อมคำหรือข้อความให้ต่อเนื่องกัน คำสันธานนั้นเป็นคำเดียวก็มี เช่น และ แต่ เป็นกลุ่มคำก็มี เช่น เพราะฉะนั้น แต่ทว่า หรือมิฉะนั้น เป็นกลุ่มแยก
         คำกันก็มี เช่น ฉันใด...ฉันนั้น คงจะ...จึง ถ้า...ก็
         ลักษณะการเชื่อมของสันธาน พอจะจำแนกได้ดังนี้
         
1. เชื่อมความให้คล้อยตามกัน
         2. เชื่อมความที่ขัดแย้งกัน
         3. เชื่อมให้เลือกเอา
         4. เชื่อมความที่เป็นเหตุผล 
         
5. เชื่อมความให้แยกต่างตอน 
         
6. เชื่อมความแบ่งรับรอง
         7. เชื่อมความให้สละสลวย 
  อุทาน คือ คำแสดงความรู้สึกของผู้พูด แบ่งเป็น
          1. อุทานบอกอาการ
          2. อุทานเสริมบท

(yayalovelyy) 01-02-2556

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น